พบสัตว์พันธ์ุใหม่ ตะขาบผสมกิ้งกือ
เป็นการค้นพบรั้งแรกในชีวิต(ของผม) ไม่รู้ว่าเป็นการค้นพบครั้งแรกในโลกหรือเปล่านะ แหะๆ
มองทีแรกนึกว่าตะขาบ มองไปอีกทีก็เหมือนกิ้งกือ ที่ผิวเหมือนมีเกราะแข็งคล้ายๆแรด หรือมันเป็นทายาทของสัตว์ยุคดึกดำบรรด์
เราก็ขอตั้งชื่อสัตว์สายพันธ์ใหม่นี้ว่า
เปรมมี่ไทยน่อซอรัส ชื่อภาษาอังกฤษ
PREMY THAINOR SAURAUS และเรียกสัตว์ชนิดนี้ว่า ตะกือ (หรือใครจะเรียกว่า กิ้งขาบ ก็ได้ครับ)
ลักษณะของตะกือที่พบนี้มีลักษณะคล้ายกิ้งกือ โดยมีลำตัวเป็นปล้องๆ จำนวน 17 ปล้องสามารถเคลื่อนไหวได้ทุกทิศทางคล้ายหลอดดูดน้ำแบบงอได้ มีหัวอีก 1 ท่อน หางอีก 1 ท่อน รวม 19 โบกี้ แต่ละปล้อง มีขา 4 ขา และขาจะยึดติดอยู่กับฐานที่ยื่นออกมาจากปล้องด้านข้างลำตัวอีกที โดยขาจะมีลักษณะเป็นปล้องๆจำนวน 3 ปล้อง แต่ไม่สามารถเคลื่อนไหวอิสระได้เหมือนลำตัว เนื่องจากต้องการความแข็งแรง และที่ปลายขามีลักษณะเรียวแหลม เหมือนเป็นกรงเล็บสำหรับจิกเกาะพื้นผิวในการปีนป่าย ในขณะที่ตะขาบหรือกิ้งกือ มักคลานตามพื้นเป็นส่วนใหญ่ และเคลื่อนไหวคล่องแคล่วกว่าตะกือ
ลำตัวจะแบนคล้ายตะขาบ ขาคล้ายตะขาบแต่ขาจะสั้นกว่า มีหนวด 2 เส้น คาดว่าไม่มีตา (ไม่รูู้ว่ามีหรือเปล่า ไม่กล้าไปจ้องใกล้ๆ เดี๋ยวมันโดดใส่ กลัว!) ส่วนหางมีลักษณะเป็นแพลตฟอร์มคล้ายกับขา ดูเผินๆเหมือนเขี้ยว อาจจะเอาไว้หลอกศัตรูให้คิดว่าเป็นส่วนหัวก็ได้
ลำตัวยาวประมาณ 2 นิ้ว กว้างประมาณ 1 เซนติเมตร (ไม่ได้วัด กะเอา เทียบกับท่อน้ำขนาด 3/4 นิ้ว) การเคลื่อนที่เชื่องช้า ประมาณ 2 นาทีต่อ 1 ฟุต( 9 เมตร ต่อ ชั่วโมง)
สำหรับตะกือตัวนี้ถูกค้นพบ วันที่ 12 ตุลาคม 2557 เวลาประมาณ 11.28 น. เป็นช่วงปลายฝนต้นหนาว ในเขตอำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด ซึ่งช่วงนี้ฝนกำลังตกส่งท้ายฤดูฝนอยู่ สถานที่พบเป็นบ้านที่อยู่กลางสวน ซึ่งเป็นสวนผสมระว่าง สวนผลไม้และ สวนยาง และไม้กฤษณา
ไม่รู้ว่าตะกือตัวนี้ยังอยู่หรือเปล่า สงสัยโดนแมวตะปปตายแล้วมั๊ง แมวยิ่งขี้เล่นอยู่ด้วย ขนาดเห็นคนยังแลบลิ้นใส่เลย
ขอบคุณที่อ่านจนจบ !!