VDO

วันเสาร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2557

พบสัตว์พันธ์ุใหม่ ตะขาบผสมกิ้งกือ

พบสัตว์พันธ์ุใหม่ ตะขาบผสมกิ้งกือ

          เป็นการค้นพบรั้งแรกในชีวิต(ของผม) ไม่รู้ว่าเป็นการค้นพบครั้งแรกในโลกหรือเปล่านะ แหะๆ
 มองทีแรกนึกว่าตะขาบ มองไปอีกทีก็เหมือนกิ้งกือ ที่ผิวเหมือนมีเกราะแข็งคล้ายๆแรด หรือมันเป็นทายาทของสัตว์ยุคดึกดำบรรด์
เราก็ขอตั้งชื่อสัตว์สายพันธ์ใหม่นี้ว่า เปรมมี่ไทยน่อซอรัส ชื่อภาษาอังกฤษ PREMY THAINOR SAURAUS และเรียกสัตว์ชนิดนี้ว่า ตะกือ (หรือใครจะเรียกว่า กิ้งขาบ ก็ได้ครับ)
       


     ลักษณะของตะกือที่พบนี้มีลักษณะคล้ายกิ้งกือ โดยมีลำตัวเป็นปล้องๆ จำนวน 17 ปล้องสามารถเคลื่อนไหวได้ทุกทิศทางคล้ายหลอดดูดน้ำแบบงอได้ มีหัวอีก 1 ท่อน หางอีก 1 ท่อน รวม 19 โบกี้ แต่ละปล้อง มีขา 4 ขา และขาจะยึดติดอยู่กับฐานที่ยื่นออกมาจากปล้องด้านข้างลำตัวอีกที โดยขาจะมีลักษณะเป็นปล้องๆจำนวน 3 ปล้อง แต่ไม่สามารถเคลื่อนไหวอิสระได้เหมือนลำตัว เนื่องจากต้องการความแข็งแรง และที่ปลายขามีลักษณะเรียวแหลม เหมือนเป็นกรงเล็บสำหรับจิกเกาะพื้นผิวในการปีนป่าย ในขณะที่ตะขาบหรือกิ้งกือ มักคลานตามพื้นเป็นส่วนใหญ่ และเคลื่อนไหวคล่องแคล่วกว่าตะกือ
     ลำตัวจะแบนคล้ายตะขาบ ขาคล้ายตะขาบแต่ขาจะสั้นกว่า มีหนวด 2 เส้น คาดว่าไม่มีตา (ไม่รูู้ว่ามีหรือเปล่า ไม่กล้าไปจ้องใกล้ๆ เดี๋ยวมันโดดใส่ กลัว!) ส่วนหางมีลักษณะเป็นแพลตฟอร์มคล้ายกับขา ดูเผินๆเหมือนเขี้ยว อาจจะเอาไว้หลอกศัตรูให้คิดว่าเป็นส่วนหัวก็ได้



          ลำตัวยาวประมาณ 2 นิ้ว กว้างประมาณ 1 เซนติเมตร (ไม่ได้วัด กะเอา เทียบกับท่อน้ำขนาด 3/4 นิ้ว) การเคลื่อนที่เชื่องช้า ประมาณ 2 นาทีต่อ 1 ฟุต( 9 เมตร ต่อ ชั่วโมง)




          สำหรับตะกือตัวนี้ถูกค้นพบ วันที่ 12 ตุลาคม 2557 เวลาประมาณ 11.28 น. เป็นช่วงปลายฝนต้นหนาว ในเขตอำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด ซึ่งช่วงนี้ฝนกำลังตกส่งท้ายฤดูฝนอยู่ สถานที่พบเป็นบ้านที่อยู่กลางสวน ซึ่งเป็นสวนผสมระว่าง สวนผลไม้และ สวนยาง และไม้กฤษณา


          ไม่รู้ว่าตะกือตัวนี้ยังอยู่หรือเปล่า สงสัยโดนแมวตะปปตายแล้วมั๊ง แมวยิ่งขี้เล่นอยู่ด้วย ขนาดเห็นคนยังแลบลิ้นใส่เลย


ขอบคุณที่อ่านจนจบ !!